สงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาในบล๊อกไปใช้กระทำเพื่อการจำหน่าย ยกเว้นการนำไปใช้เพื่อการศึกษาและโปรดให้เครดิตเจ้าของผลงานด้วยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การทำหนังสือเล่มเล็ก ประโยชน์ ทักษะ ความรู้




💢การทำหนังสือเล่มเล็ก หนังสือทำมือ ต้องมีทักษะหรือความรู้อะไรบ้าง💢

            หนังสือเล่มเล็ก ก็เหมือนๆหรือคล้ายๆหนังสือทำมือค่ะ  เป็นหนังสือที่ทำได้ครั้งละน้อยเล่ม คำว่าหนังสือเล่มเล็กมักใช้ในวงการการศึกษา  หรือเป็นเครื่องมือสื่อการสอนที่ใช้กับนักเรียน เน้นเนื้อหาเรื่องราวไปทางบันเทิงคดี  ให้ข้อคิด  

            การจัดทำหนังสือเล่มเล็กนั้นเป็นที่นิยมแพร่หลายในโรงเรียน นอกจากจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอนส่งเสริมการอ่าน   การมอบหมายให้ทำเป็นชิ้นงานสรุปการค้นคว้า หรือบันทึกข้อมูลการเรียนต่างๆ ก็มี  และมีการจัดให้มีการแข่งขันตั้งแต่กลุ่มเล็ก ๆ จนถึงระดับประเทศเลยทีเดียว 

            หนังสือทำมือ   เรื่องราวที่เขียนค่อนข้างเปิดกว้าง และผลิตมากตามจำนวนผู้เขียนต้องการ เพื่อการค้า ส่วนใหญ่ใช้การทำต้นฉบับแล้วทำสำเนาหลายเล่มเข้าเล่มเอง เรื่องราวโดยมากเป็นเรื่องราวทั่วไป เช่น สูตรอาหาร ต่าง ๆ บทกลอน เรื่องสั้น ที่นิยมมากคือนิยาย  นวนิยาย  คนเขียนสามารถเขียนได้เสรีภายใต้ขอบเขตของข้อกำหนดทางกฎหมายในการเผยแพร่ข้อมูลในกรณีนำออกจำหน่าย  เหมือนการทำหนังสือจากสำนักพิมพ์ทุกประการ  เพียงแต่ทุกขั้นตอนคนผลิตดำเนินการเอง เขียนเอง พิมพ์เอง ทำเล่มเอง เป็นบรรณาธิการเอง และอาจขายเองด้วย และคนตัดสินว่าดีหรือไม่คือคนอ่าน  ซึ่งในด้านการโปรโมต  เพื่อให้เกิดความนิยม ย่อมแตกต่างจากหนังสือของสำนักพิมพ์แน่นอนค่ะ

                ทุกวันนี้ช่องทางการโปรโมตมีหลายช่องทางมาก  บางคนสามารถโปรโมตผลงานตนเองได้ง่ายขึ้น  ก็มีไม่น้อยที่นักเขียนอิสระบางคนก็เพียงอยากทำงานเขียนขึ้นสักชิ้นเพื่อเก็บเป็นที่ระลึก  หรือให้เป็นของขวัญล้ำค่าแก่ใครสักคนเป็นส่วนตัว  ไม่ได้เพื่อหารายได้อะไร  ก็เป็นเรื่องส่วนตัวแล้วแต่ความพอใจของเรา


💢ประโยชน์ได้จากการทำหนังสือเล่มเล็ก

            เราจะพูดถึงการทำหนังสือเล่มเล็กในโรงเรียนก่อนนะคะ  เพราะหากสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่กันได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่เหล่านักเขียนน้อย ๆ ในอนาคตได้พอสมควร  ประโยชน์ที่ได้ทำหนังสือเล่มเล็กมีมากมายหลายอย่าง เช่น         

             📕  การส่งเสริมทักษะในการอ่าน การเขียน และความคิดสร้างสรรค์

             📔  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เห็นคุณค่า มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำหนังสือ รวมทั้งสร้าง                       ทัศนคติที่ดีต่ออาชีพนักเขียน

             📗 เพื่อผ่อนคลาย  เพื่อความจรรโลงใจ  

             📘 หนังสือเล่มเล็กจะเน้นเพื่อเป็นหนังสือสําหรับเด็กและเยาวชน โดยเนื้อเรื่องนั้นให้สอดคล้อง                         กับวัย  และต้องช่วยส่งเสริมการอ่าน ให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านโดยเน้นบันเทิงคดี มีข้อคิด

            🎀 ดีที่สุดคือหนังสือที่เด็กได้มีโอกาส ทำเองหลังจากได้รับความรู้และวิธีการไปแล้ว 


💢การทำหนังสือเล่มเล็ก  ต้องมีทักษะ หรือความรู้อะไรบ้าง 

        1.ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมสําหรับเด็กและเยาวชน  ควรเป็นนักอ่านบ้าง เพื่อจะได้มีคลังคำ หรือเรื่องราว ๆ ต่าง ๆ จากประสบการณ์ วัตถุดิบในการเขียนแต่งเติมเรื่องราว

        2.ทักษะการอ่าน การเขียน การเขียนที่เป็นงานศิลปะ หรือเป็นงานที่นักเรียนแข่งขัน  อาจต้องมีการใช้ลายมือจริง  เขียนสด  ดังนั้นลายมือควรสวย  ลายเส้นมั่นคง สะอาด  ถ้าเป็นงานนำเสนอที่อาจพิมพ์โดยคอมพิวเตอร์ได้ก็ควรเน้นทักษะการเขียนแต่ง  ดำเนินเรื่องให้น่าอ่าน น่าติดตาม  

        3.การจัดทําภาพประกอบ  และรูปเล่ม ก็ควรวาดรูปได้บ้างในกรณีที่ใช้วิธีการทำภาพประกอบประเภทวาด  โดยเฉพาะการเข้าแข่งขันของนักเรียนต้องใช้ทักษะวิชาศิลปะมากพอสมควร 

        4.ทักษะการวัด การคำนวณ กรณีทำปกประกอบเล่ม

        5.ทักษะการทำงานทีม  กรณีทำเป็นทีม

        6.ความอดทน  เพราะใช้เวลาในการทำนานพอสมควร  อาจหลายวัน  ในกรณีแข่งขันอาจใช้เวลาจำกัดไม่เกิน 1 วัน แล้วแต่หน่วยงานที่จัด


       เมื่อเราทำสำเร็จสักเล่ม...ความภูมิใจแรงจัดมากขอบอก 





วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สตอรี่บอร์ด(Story Board)

 📌📖ความหมายของสตอรี่บอร์ด(Story Board)

สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การทำโครงสร้างของหนังสือ โดยกำหนด กรอบเค้าโครงเรื่องราว และภาพประกอบอย่างคร่าว ๆ  เพื่อกำหนดกรอบการเล่าเรื่อง การเรียงลำดับเหตุการณ์ เพื่อผลิตสื่อเคลื่อนไหว มักใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ คลิปละคร หนังโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น


การสร้างสตอรี่บอร์ด(Story Board) ช่วยในการจัดลำดับเรื่อง การเล่าเรื่อง การจัดฉากประกอบตามเรื่องราว ซึ่งอาจไม่ต้องละเอียดมาก เพียงแต่ต้องใส่องค์ประกอบของแต่ละฉากลงไปว่าควรให้มี หรืออยากให้มีอะไรบ้าง  รวมถึงการใส่รายละเอียดปลีกย่อยที่เราต้องการลงไปว่าต้องการสิ่งใดให้เกิดขึ้นในฉากนั้น ๆ  เช่น การจัดแสง สี เสียง มุมกล้อง การจัดภาพแบบใด การกำหนดเวลาต่าง ๆ  ตัวละครพูดอะไร เกิดเหตุการณ์ใด  บ้างเป็นต้น



📌📖ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด(Story Board)


สตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วยภาพโครงร่างคร่าวๆ( Sketches) พร้อมคำบรรยายหรือบทสนทนาในเรื่องโดยการแบ่งบทเป็นฉาก ๆ หรือช่องตารางเพื่อกำหนดเรื่องแทน


แนวทางในการเขียนสตอรี่บอร์ด สามารถกำหนดกรอบเป็นช่อง (frame) มากน้อยได้ตามจำนวนของเนื้อหาหรือกำหนดกรอบหรือเฟรมนั้นว่าจะให้เรื่องจบที่กี่ตอนกี่ฉากก็ได้


สิ่งที่ควรมีในสตอรี่บอร์ด(Story Board) เช่นฉาก ตัวละคร คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาการเคลื่อนไหวของสิ่งเคลื่อนไหวได้  เสียงพูดคุย สนทนา เสียงประกอบฉาก  ดนตรีประกอบฉาก  มุมกล้อง ขนาด ระยะทางใกล้ไกล การเคลื่อนกล้องซ้ายขวา ซูมเข้าออก เป็นต้น


ซึ่งสามารถใส่หรือกำหนดองค์ประกอบที่ต้องการได้เท่าที่ต้องการตามความเหมาะสมและความจำเป็นเพื่อดึงคนเข้าชม


เมื่อเราได้โครงร่างจากสตอรี่บอร์ด(Story Board) ที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปสร้างเป็นเรื่องราวของภาพยนตร์ หรือรูปแบบอื่นที่เราต้องการนำเสนอได้โดย กรอบเหล่านี้จะควบคุมการผลิตไม่ให้ออกนอกกรอบไปจนยืดเยื้อ นอกประเด็น 

 



ตัวอย่าง


 

โครงสร้างของสตอรี่บอร์ดมีได้หลายรูปแบบ 
ออกแบบให้เข้ากับโครงเรื่องได้ตามความสะดวก 
เราสามารถกำหนดช่องเป็นตารางเพื่อใส่ภาพเพื่อวางตัวละคร 
ใส่ข้อความ บทพูด บทสนทนา หรือองค์ประกอบต่างๆ 
บันทึกลงไปเพื่อนำใส่ให้ครอบเมื่อลงมือทำจริง



บางชุดก็กำหนดวันเดือนปีทีทำ ฉาก เวลา และอื่นเพิ่มเติม 



แบบแยกตาราง และ บรรยาย ทำความยาว หรือแบ่งฉากตามปริมาณของเนื้อหา




Story Board หนังสือเล่มเล็ก


รูปแบบของ Story Board  ที่กำหนดในเกณฑ์การแข่งขันหนังสือเล่มเล็ก
จะสังเกตเห็นว่าเป็นโครงสร้างของรูปเล่ม ซึ่งประกอบไปด้วย
ปกหน้า ปกใน ปกหลัง  คำนำ สารบัญ หน้าผู้จัดทำ หน้าส่วนเนื้อหา 
ในส่วนนของเนื้อหาจำนวนหน้าจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ระดับ 
ในส่วนของหนังสือเล่มเล็กจะมีส่วนประกอบของภาพประกอบ และคำบรรยายเท่านั้น


🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀


คงเป็นประโยชน์บ้างนะคะ  บทความหน้า จะทยอยดึงการทำสตอรี่บอร์ดและเกณฑ์อื่นๆ มาสู่การทำเพื่อสร้างหนังสือเล่มเล็กกันค่ะ จะเจาะเข้าไปที่เกณฑ์การประกวดด้วยเลย  ปีนี้ถ้าหากเขตไหนแข่งไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียดายค่ะ ปีหน้ายังมีนะคะ...ขอบคุณที่ติดตาม กดไลค์ กดแชร์ คอมเม้นท์เป็นกำลังใจด้วยนะคะ



วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

E-book อยากเขียนหนังสือเป็น อ่านเลย!

แนะนำหนังสือสำหรับใครที่ต้องการอยากมีหนังสือเป็นของตัวเองง่าย ๆ นะคะ

ลองเอาวิธีนี้ไปทำดูนะคะ  อ่านง่าย ๆ เบา ๆ สไตล์เพื่อนๆ กัน 

หนังสือเล่มนี้อาจช่วยให้คุณเขียนได้ และสร้างรายได้ให้คุณก็ได้นะคะ 

ที่สำคัญ ฟรี!


รีบๆ โหลดมาอ่านก่อนปรับเป็นราคาขายนะจ๊ะ


คลิกเบา ๆ  ที่ หน้าปกหนังสือเลยจ้า! 





วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หนังสือเล่มเล็กเพื่อการประกวด






                    สวัสดีค่ะ เรามาเริ่ม มาลองทำหนังสือเล่มเล็กเพื่ออะไรบางอย่างกันดูค่ะ ปกติเราก็จะใช้หนังสือเล่มให้เป็นสื่อการเรียนการสอน สื่อเสริมการอ่านต่าง ๆ และเป็นโจทย์ชิ้นงานให้เด็กๆ ได้ทำง่ายๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษา ด้านการคิดการเขียนเรื่อง และยังได้ฝึกฝนศิลปะด้านการวาดการใช้สี และอีกหลายทักษะบูรณาการหลอมรวมกันได้มากมาย สร้างความจรรโลงใจให้แก่ผู้ชื่นชอบ 

                    วันนี้เราจะลองมาเล่าถึงการทำเพื่อประกวดแข่งขันกันบ้างค่ะ  การทำหนังสือเล่มเล็กแบบมีเกณฑ์เป็นข้อกำหนด การสร้างจินตนาการการทำหนังสือในกรอบกำหนด (การประกวดแข่งขันย่อมต้องมีเกณฑ์คัดสอน มีกรอบกำหนดนะคะ เพื่อจะได้ใช้วัดฝีมือในกรอบเดียวกันว่าทีมใด สามารถทำออกมาได้ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์นั้น ๆ )

                    การทำหนังสือเล่มเล็กเพื่อเป็นสื่อ ทำได้หลายรูปแบบค่ะ จะเล่มขนาดไหน กี่หน้า รูปร่างหน้าตา สีสัน จำนวนหน้าอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ถนัด แต่การประกวดจะมีข้อกำหนดให้ 

                    การประกวดหนังสือเล่มเล็กไม่ค่อยมีทั่วไป ปกติจะมีประจำคืองานหัตถกรรมนักเรียน ซึ่งมีการประกวดแข่งขันสูงสุดที่ระดับประเทศ หลังจากคัดตัวแทนจากกลุ่มโรงเรียน เข้าแข่งระดับเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขต แล้วเข้าสู่ระดับภาคต่อไป 

                    แต่ก็มีบ้างในเอกชนหรือหน่วยงานบางแห่งจัดเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์  มีรางวัลแล้วแต่ทางหน่วยงานนั้นกำหนดค่ะ 

                    อย่างไรก็ตามการประกวดเป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงฝีมือ ซึ่งการตัดสินจะตัดสินในแค่วันแข่งหาทีมที่ทำได้ดีที่สุดในวันนั้นเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ทีมที่ตกรอบทำไม่ดีแต่อย่างไร เราต่างก็รู้กันดีเมื่อเราทำงานภายใต้สถานการณ์กำหนดที่กดดันมันดูยากขึ้น  แต่เราก็อยากจะเป็นทีมที่ทำได้ดีที่สุดในวันนั้นกันใช่ไหมคะ

                    การประกวดทำหนังสือเล่มเล็กจะแข่งกันเป็นทีม ทีมละ 3 คน ในเวลาที่กำหนด 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ไม่มีการพักรับะทานอาหาร แต่ให้ทานได้ในขณะทำ ซึ่งนอกจากฝีมือแล้วยังต้องมีการบริหารเวลาและการจัดวางตัวคนในทีมด้วย ส่วนนี้ผู้ฝึกสอนน่าจะรู้ความสามารถ ความเหมาะสมของเด็กว่าควรทำอะไรอย่างไรอยู่แล้ว ในส่วนของที่ผู้เขียนจะเล่ารายละเอียดก็จะเจาะไปที่การทำแบบให้เข้าเกณฑ์ที่ถูกต้องมากที่สุด ส่วนใหญ่จากประสบการณ์ที่เคยไประดับภาค มีบางทีมทำสวยงามเนื้อหาดีมากแต่ตกรอบ นั่นเพราะไม่ถูกต้องตามเกณฑ์กำหนด 

                    การเริ่มทำอันดับแรกนั้น ในเว็บบล็อกนี้มีวิธีการและขั้นตอนการทำไว้แล้วนะคะ สามารถเข้าไปอ่านตามลิ้งค์ที่วางไว้ให้ได้เลย หัวจ้อข้างล่างเป็นแบบคร่าว ฝึกกันได้ทั่วไปค่ะ และใช้เข้าประกวดได้ เรื่องการทำปกคนสนใจมากเพราะมักมีปัญหาการใช้วัสดุมักตกลงกันไม่ได้ว่าใช้อะไรได้บ้าง ทำปกแข็ง หรืออ่อนกันแน่ อะไรเป็นข้อห้าม ขนาดเท่าไหร่แน่ 

อ่านเพิ่มเติม  Hansel & Gretel 1 (เรื่องเล่า) 


อ่านเพิ่มเติม  Hansel & Gretel 3 (เข้าปกทำเล่ม)



                    เรื่องขนาดในการตัดกระดาษ พับมุม เข้าเล่ม ที่ทำเสนอในบทความ อาจไม่ได้มีมาตรฐานในงานแต่ละชิ้นค่ะ เนื่องจากจะมีตัวแปรเรื่องของกระดาษที่ใช้ จำนวนหน้าที่ทำด้วย ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เดี๋ยวเรามาเรียนรู้ไปทีละส่วน เพราะทุกส่วนมีความสำคัญทั้งนั้นค่ะ  


                    ส่วนบทความต่อไปจะลงเรื่องการเริ่มทำหนังสือให้ตามขั้นตอนสำสคัญๆให้ ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะให้ข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหนนะ แต่จะพยายามให้ได้มากที่สุดค่ะ การเข้ามาอ่านมาค้นข้อมูลอาจได้รายละเอียดไม่ครอบคลุมเหมือนมานั่งคุย รายละเอียดมันมากมายเหลือเกินค่ะ เพราะการจะก้าวไปถึงฝันนั้นมันไม่ใช่แค่การทำชิ้นงานค่ะ แต่มันมีเรื่องของการบริหารเด็ก ทีมเด็ก ทีมผู้ฝึกสอน และทีมของเราด้วยหลายๆ อย่าง การทำหนังสือด้วยมือสดๆ ในเวลา 6 ชั่วโมง ทั้งคิดเรื่องสด เขียนสด วาดรูปลงสีกันเดี๋ยวนั้น  ไม่ใช่งานเล่นๆ เลยค่ะ เด็กที่ผ่านด่านมาแต่ละด่าน ผ่านการฝึกมาแต่ละวันได้นี่....มีคำไหนที่บ่งบอกถึงความทุึ่งได้มากกว่าคำว่า "สุดยอด" ไหมคะ อยากใช้คำเหล่านั้นแก่พวกเขาจริง ๆ ค่ะ

                    บทความความหน้าเราจะสร้าง Story board   เพื่อเริ่มเรื่องและวางแผนกันค่ะ เนื่องจากการสร้าง  Story board มีในเกณฑ์การแข่งด้วยค่ะ  








วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เกณฑ์การแข่งหนังสือเล่มเล็ก

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามาดูเกณฑ์การแข่งหนังสือเล่มเล็กกันบ้างนะคะ 
เผื่อมีคุณครูที่สนใจส่งนักเรียนเข้าประกวดแข่งขัน
ในงานศิลปะหัตถกรรมนักเรียน

 เกณฑ์นี้ยังเป็นเกณฑ์ล่าสุดของปีการศึกษา 2562  อยู่นะคะ 
ส่วนงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 นั้น 
รออัพเดทจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ค่ะ

























วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

meb E-book Fair - สัปดาห์หนังสือที่บ้าน ต.ค. 65

 meb E-book Fair - สัปดาห์หนังสือที่บ้าน ต.ค. 65

                เชิญชวนคนรักหนังสือ สู่ meb E-book Fair - สัปดาห์หนังสือที่บ้าน ต.ค. 65 พบหนังสือราคาย่อมเยาว์ เสริมสาระประโยชน์มากมาย ให้ทั้งความรู้ความบันเทิง การ์ตูน นวนิยายที่เราชื่นชอบ หรือวิธีสร้างงานสร้างอาชีพเสริมรายได้มากมายให้คัดสรรมากมายค่า   




แนะนำหนังสือ

บทกลอนปรัชญาเพราะๆ เกี่ยวกับความเผลอไปกับเวลาที่มาเร็วเกินเราต้าน
และยากที่จับทันความคิดของตัวเองในแค่ชั่วขณะ
กลอนฉันทลักษณ์ที่ถูกต้องเงต็มรูปแบบ
ที่หาอ่านยากแล้วค่ะ




อารมณ์ของคนเราในชั่วขณะจิต
ในช่วงของการได้อยู่กับตัวเอง ในรูปแบบกลอนสุภาพ 
ตรงตามแบบฉันทลํกษ์ของภาษา ที่หาอ่านยากค่ะ




เป็นเรื่องสั้นในแนวกลอนสุภาพ หรือกลอนแปด
ในรูปแบบมาตรฐานกลอนฉันทลักษณ์
อารมณ์สนุก ๆ อ่านสบายผ่อนคลายอารมณ์ผสมเสียงหัวเราะ เล่ม 1 




เป็นเรื่องสั้นในแนวกลอนสุภาพ หรือกลอนแปด
ในรูปแบบมาตรฐานกลอนฉันทลักษณ์
อารมณ์สนุก ๆ อ่านสบายผ่อนคลายอารมณ์ผสมเสียงหัวเราะ เล่ม 2 


ฝากติดตามด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า


 



วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ใบงานฝึกอ่าน และฝึกแต่งประโยค ชุด 2





        ใบงานชุดที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษา ใบงานเพื่อฝึกการเขียนเรื่องให้ได้ยาวขึ้นมีมิติของเนื้อหามากขึ้น ฝึกอ่านเนื้อหาที่นำมาอาจจะเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้น ๆ    น่าสนใจ เรื่องใกล้ตัวเพื่อที่เด็ก ๆ เด็กๆจะได้มีกำลังใจ ใช้คำง่ายไปยาก มีคำศัพท์น่าสนใจ 

          หากเด็กยังอ่านไม่เก่งผู้ใหญ่หรือคุณครูควรพาอ่านก่อน และควรอ่านซ้ำหลาย ๆ รอบก่อน อาจยังไม่ต้องให้เด็กรีบลงมือเขียนนะคะ ให้อ่านจนคล่อง หรือเด็กช้าก็ให้อ่านได้ก่อน การอ่านอาจแบ่งเวลาอ่านเช้าก่อนเริ่มเรียน 1-2 ได้ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากใช้เนื้อหาข้อความสั้น ๆ โดยใช้กระบวนการ อ่านตามในรอบแรก อ่านเองพร้อมกันในรอบที่สอง อ่านก่อนช่วงพักบางช่วง แล้วค่อยให้เด็กอ่านเน้นคำที่กำหนด 

          เมื่ออ่านจบแล้วฝึกเขียนคำ คัดลายมือตามคำที่กำหนด หรือช่วยกันเลือกคำก็ได้  เมื่อฝึกอ่านจนคล่องและคัดลายมือไปบ้างแล้วก็ทดลองให้เด็กฝึกเขียนตามคำบอก หรือเขียนสะกดคำ อาจไม่จำเป็นต้องมากก็ได้เลือกตามความเหมาะกับความสามารถของเด็ก การเขียนสะกดคำอาจยกชิ้นงานการฝึกออกไปที่สมุดจดได้


          ขั้นตอนการแต่งประโยค เลือกคำง่าย ๆ โดยแต่งสั้น ๆ ตามส่วนประกอบของประโยคที่ประกอบด้วยประธาน + กริยา + กรรม  ในบรรทัดแรก และบรรทัดถัดไปค่อยให้มีคำขยายอื่น ๆ หรือต่อปรธดยคที่ยาวออกเรื่อย ๆ เช่น  กำหนดคำ     มะลิ
            1. แม่เก็บมะลิ
            2. แม่เก็บมะลิในสวน
            3. แม่เก็บมะลิในสวนข้างบ้าน
            4. แม่เก็บมะลิในสาวนหลังบ้านของยาย
                              ฯลฯ

            การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนด โดยให้เด็กฝึกเขียนเรื่อง  โดยมีคำที่กำหนดให้ทุกคำหรือบางคำตามแต่ผู้สอนจะกำหนดสถานการณ์ เพื่อเป็นการฝึกแต่งเรื่อง การมีคำที่กำหนดให้เด็กจะช่วยให้เด็กแต่งเรื่องได้ง่ายขึ้น แต่อาจสร้างเรื่องราวได้ไม่ยาวมาก จึงอาจไม่ควรกฎเกณฑ์เข้มงวดเกินไป ให้เด็กได้มีเวลาค่อยเป็นค่อยไป

            การเขียนเรื่องตามจินตนาการจากภาพ เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้คิดอย่างเป็นระบบ รอบคอบ และเชื่อมโยงความคิดจินตนาการกับภาพที่กำหนด ผู้สอนควรแนะนำให้เด็กได้สร้างกรอบแนวคิดของเรื่องราวในภาพนั้น ๆ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน ควรให้เด็กได้คิดวิเคราะห์สิ่งที่เห็นในภาพออกมาก่อน แล้วค่อยนำคำที่ได้มาแต่เรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ที่ควรเป็นอย่างเหมาะสม






ช้างน้อยชอบคนพูดเพราะ